กิจกรรม

ตัวแทนหมู่บ้าน ไอที เข้าร่วมแข่งขัน Pitching ในงาน Startup Thailand League 2022 รอบภูมิภาค (ภาคเหนือ)
ข่าวประชาสัมพันธ์
คู่มือนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565
คู่มือนักศึกษาใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีการศึกษา 2565
คู่มือเตรียมความพร้อมในมหาวิทยาลัย
เตรียมพร้อมเพื่อเป็นน้องใหม่ ม.แม่โจ...
กำหนดการเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565
กำหนดการสำหรับ นศ. ใหม่
24 มิ.ย. 65 ตรวจสอบตารางเรียนได้ที่เว็บไซต์ www.reg.mju.ac.th ...
ข้อมูลหลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ.2560
ข้อมูลหลักสูตรปรับปรุงปี พ.ศ.2565
ประวัติความเป็นมา
หลักสูตรพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศทางด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ในยุคประเทศไทย 4.0 ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก เป็นที่ยอมรับระดับสากล เน้นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสร้างองค์ความรู้ ซึ่งต้องใช้บุคลากรทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีคุณภาพเป็นจำนวนมาก จากนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะเป็นแผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) ที่กำหนดทิศทาง การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
สาขาวิชาฯ เริ่มเปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2545 โดยระบบการเรียนการสอนของสาขาวิชาฯ เน้นด้านการพัฒนาโปรแกรมเป็นหลัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้ทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ และแนวคิดในการวางแผนอย่างเป็นระบบ นอกจากนั้นสาขาวิชาฯ ยังให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาระบบ อาทิ การโปรแกรมเชิงวัตถุ การพัฒนาโปรแกรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ การวิเคราะห์และการออกแบระบบเชิงวัตถุ ตลอดจนการทดสอบระบบ ด้วยเครื่องมืออันที่ทันสมัยโดยมีเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาดเป็นอันดับแรก ดังนั้นบัณฑิตของสาขาวิชาฯ ต้องมีทักษะด้านปฏิบัติเป็นสำคัญส่งผลให้สาขาวิชาฯ เป็นหนึ่งในจำนวนสาขาที่ประสบความสำเร็จสูงสุด ในแง่การผลิตบัณฑิตที่มีจำนวนผู้ได้งาน และรายได้ต่อหัวสูงสุดของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ นับตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน
* การเรียนการสอนของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ไม่เน้นที่การออกแบบ Graphic การสร้างภาพเคลื่อนไหว และมัลติมีเดียเช่นเดียวกับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศของสถาบันอื่นๆ *

ปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร
“ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ ความสามารถ และทักษะการเรียนรูตลอดชีวิต ในการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยี ให้สามารถออกแบบ พัฒนา และ ทดสอบซอฟต์แวร์ ที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังมีความสามารถในการสื่อสารและทำงานเป็นทีม โดยมีจรรยาบรรณในวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ”
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- 1. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานทางด้านเทคโนโลยี ให้สามารถออกแบบ พัฒนา และ ทดสอบซอฟต์แวร์ ที่สนับสนุนการใช้งานในองค์กร และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- 2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเข้าใจ และประยุกต์ใช้ในกระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศ และมีความสามารถในการสื่อสาร ทำงานเป็นทีมได้ เป็นผู้ที่มีความเข้าใจด้านสังคม องค์กร และคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- 3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการจัดการปัญหาและการเรียนรู้ศาสตร์ใหม่ได้ด้วยตนเองโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการเรียนรู้
บุคลากรของหลักสูตร

อ.ดร.จักรกฤช เตโช
ประธานอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อ.ดร.ภรต รัตนปิณฑะ
อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

อ.ดร.จิราวรรณ รอนราญ
อาจารย์ประจำหลักสูตร

อ.พิชชยานิดา คำวิชัย
ลาศึกษาต่อ
เจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตร

นายณัฐพล อาจิน
นักวิชาการคอมพิวเตอร์